การทดสอบ LAN และการอ่านค่าการทดสอบ

ทดสอบสายแลน (LAN) และวิธีการอ่านค่าการทดสอบ

          สายแลน (LAN) เป็นสายอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่งที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับทีวีและคอมพิวเตอร์ ถือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันแพร่หลายอย่างมากในการรับ-ส่งข้อมูลต่างๆ ของข้อมูลดิจิตอลไม่ว่าจะเป็นการทำงาน รับข่าวสาร หรือในการรับชมสื่อต่างๆ ส่วนมากแล้วจะนิยมใช้ตามบ้านเรือน ออฟฟิศสำนักงาน การเรียนการสอนในห้องเรียน ซึ่งมีผลกับความสะดวกสบาย และความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูลอย่างมาก ถ้าหากมีปัญหาในการเชื่อมต่อบนอุปกรณ์เหล่านี้ ที่ทำให้ไม่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ อาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม หรือด้านระบบโทรคมนาคม ที่มีการใช้สายแลน (LAN)  ในการรับ-ส่งข้อมูลอย่างมหาศาล เราจึงควรที่จะทดสอบสายแลน (LAN) ที่ใช้งานของเราให้ดีเพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการใช้งานได้

          ในวันนี้เรามาทำความรู้จักถึงวิธีการทดสอบสายแลน (LAN) กันว่าทำอย่างไร มีอุปกรณ์อะไรบ้าง และอ่านค่าการทดสอบอย่างไร

 

ทำไมต้องทดสอบสายแลน (LAN)

          หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมเราต้องมีการเทสสายแลน หลังจากการติดตั้ง เพราะปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นแค่อุปกรณ์ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงอุปกรณ์ และ แชร์ไฟล์หรือข้อมูลต่างๆ ภายในองค์กรอีกด้วย รวมถึงสามารถนำไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อให้ทำงานเป็นระบบได้ การติดตั้งสายแลน ที่ไม่ได้มาตรฐานก็ทำให้เกิดปัญหาหลายๆ อย่างตามมา เช่น เกิดปัญหาการเชื่อมต่อได้บ้างไม่ได้บ้าง, เกิดปัญหา Retransmit, CRC Error ขึ้นในระบบ, หรือ PoE Switch ไม่สามารถทำงานได้ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีการเช็คสายแลน และการทดสอบสายแลน ด้วยเครื่องเช็ค ทดสอบสายแลนเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ข้อมูลที่ถูกส่งผ่านสายแลนนั้นมีความเสถียรสูงสุด และส่งผ่านข้อมูลได้อย่างแม่นยำถูกต้อง เพราะปัจจัยเหล่านี้เป็นที่สนใจอย่างมากในองค์กรหรือบริษัทที่มีการควบคุม ISO

          เครื่องทดสอบสายแลน เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการสังเกตการเชื่อมต่อ ความเสียหายของสายแลนบางประเภท และยังสามารถนำมาทดสอบสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber optic) ระบุความเสียหายและการเชื่อมต่อที่ไม่ถูกต้องภายในสายแลนได้ นอกจากนี้เครื่องทดสอบสายแลน ยังมีประโยชน์ในการวิเคราะห์ทราฟฟิกของเครือข่าย และช่วยในการติดตามที่อยู่ IP 

          ดังนั้นการทดสอบสายแลน หรือการตรวจเช็คสายแลนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อได้อย่างปลอดภัย และมีคุณภาพมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์ที่ผู้ใช้งานสายแลนใช้ในการเชื่อมต่อ เช่น การควบคุมระยะไกล คอมพิวเตอร์ และระบบโทรคมนาคม เป็นต้น

 

สายแลน (LAN) แบบไหนบ้างที่ควรทดสอบ

  1. สายแลนที่ใช้ภายนอกอาคาร สายแลนที่ใช้ภายนอกอาคารนี้ เป็นสายแลนกลางแจ้ง ถูกใช้ในการเดินสายเคเบิลเครือข่ายภายนอกอาคาร สายเคเบิลเหล่านี้มีสายที่หนากว่าเมื่อเทียบกับสายแลนภายในอาคาร สายแลนรุ่นนี้สามารถกันน้ำได้ และสามารถป้องกันสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายได้ นอกจากนี้ยังสามารถฝังไว้ใต้ดินได้ สายแลนกลางแจ้งมีอายุการใช้งานยาวนาน ทนทาน และใช้งานง่ายโดยเฉพาะสำหรับการติดตั้ง
  1. สายแลนที่ใช้ภายในอาคาร สายแลนในอาคารเป็นสายแลนที่ได้รับการออกแบบสำหรับสภาพอากาศที่ค่อนข้างปานกลาง และอุณหภูมิในพื้นที่ในร่มคือสิ่งที่สายเคเบิลเหล่านี้สามารถรักษาไว้ได้ โดยไม่เสื่อมสภาพหรือก่อให้เกิดอันตรายจากไฟไหม้ ยิ่งไปกว่านั้น สายเคเบิลในร่มจะต้องทนไฟด้วย

 

ระดับของเครื่องมือทดสอบสายแลน

          เครื่องมือทดสอบสายแลน ก็มีหลายระดับด้วยกัน ซึ่งทางเทคนิคแล้ว มันถูกแบ่งเป็น 3 ระดับใหญ่ๆ ได้แก่

  1. Verification Level  
  2. Qualification Level 
  3. Certification Level

          ซึ่งเครื่องมือทดสอบแต่ละระดับ ก็จะทดสอบในระดับที่แต่งต่างกันไปตามรูปภาพด้านล่าง

ระดับของเครื่องมือทดสอบสายแลน

 

วิธีการทดสอบสายแลน (LAN)

          โดยปกติเมื่อมีการเดินสายแลนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้มั่นใจว่าเราเดินสายแลนถูกต้อง และสายแลนที่ใช้ไม่มีการเสียหาย เราจึงจำเป็นต้องทดสอบสายแลน (LAN) เพื่อเช็คสายแลน ด้วยเครื่องทดสอบสายแลน ซึ่งโดยปกติแล้วจะแบ่งได้หลักๆ ดังนี้

  1. Cable Tester
  2. Cable Tester จาก Cable Tester American Standard wire Gauge (AWG)
  3. เครื่องเช็คสายแลน FLUKE DTX-1800

          โดยทั่วไปแล้ว เครื่องทดสอบสายแลนพวกนี้จะสามารถบอกได้ว่าสายแลนที่เราเดิน หรือใช้นั้นมีความเสียหายหรือไม่ และระบบเครือข่ายสายแลนทำงานผิดปกติหรือไม่ เพียงแค่เอาสายแลนเสียบกับเครื่องเทสสายแลนที่กล่าวข้างต้น ก็สามารถได้ข้อมูลที่อ่านได้จากตัวเครื่องได้

Cable Tester

          เป็นเครื่องมือสำคัญที่มีไว้ใช้ตรวจสอบสัญญาณ UTP ก่อนที่จะนำไปเชื่อมต่อกับระบบจริงและยังช่วยวิเคราะห์ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นกับเครือข่ายได้ด้วย เช่น ความเร็วต่ำกว่าที่ควร เป็นต้น

Cable Tester

Cable Tester ปกติมีฟังก์ชันการตรวจสอบ ดังนี้

  • ความถูกต้องการเรียงสายสัญญาณ
  • ชนิดของสายสัญญาณเป็นแบบตรง (Straight Through Cable) หรือแบบไขว้ (Cross Cable)
  • ความเร็วที่สายสามารถรองรับได้ (บางรุ่น)
  • ความยาวของสายสัญญาณ (บางรุ่น)
  • คุณภาพของสายสัญญาณ (บางรุ่น)
  • วิเคราะห์โปรโตคอลและปริมาณข้อมูล (บางรุ่น)
  • วิเคราะห์ลักษณะการเชื่อมต่อกายภาพ (บางรุ่น)

Cable Tester จาก Cable Tester American Standard wire Gauge (AWG)

เครื่อง AWG

การอ่านค่า การทดสอบ Cable Tester American Standard wire Gauge (AWG)

การอ่านค่าการทดสอบ Cable Tester

  • Wire Map แสดงการเข้าหัว RJ-45 หากเป็น “PASS” แสดงว่า เข้าหัวตรงกัน (Straight Though Cable) และหากเป็น “FAIL”แสดงว่าเข้าหัวต่างกัน (Cross Cable)
  • Resistance เป็นค่าความต้านทางของสายสัญญาณ มีหน่วยเป็นโอห์ม(Ohms)
  • Length ความยาวของสายสัญญาณที่ใช้แต่ละจุด เริ่มตั้งแต่สาย Patch Panel ในตู้ RACK จนถึงสาย Patch Panel ที่ต่อเข้ากับ Work Station สามารถเดินสายสัญญาณได้ไกลที่สุด 100 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ยังทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ดี
  • Propagation Delay เป็นค่าของเวลาที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจากต้นทางมาถึงปลายทาง ที่สายแต่ละคู่ใช้ มีหน่วยเป็น Nanosecond (ns,10-9 second) โดยไม่ควรมีค่าเกิน 555 ns.
  • Delay Skew เป็นค่าความแตกต่างของเวลา ที่ใช้ในการสื่อสารเทียบกับสานสัญญาณคู่ที่ใช้เวลาน้อยที่สุด หรือเป็นค่าความล่าช้าในการได้รับสัญญาณที่ส่งมาของแต่ละคู่โดยที่เวลาที่ใช้ในการสื่อสารของแต่ละคู่จะต้องไม่ต่างกันเกิน 50 ns. หากเกินช่วงเวลานี้อาจทำให้การติดต่อสื่อสารผิดพลาดได้
  • Insertion Loss เป็นค่าการสูญเสียเนื่องจากสัญญาณรบกวน
  • Impedance เป็นค่าความต้านทานของขดลวดของสายสัญญาณแต่ละคู่ มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ohms) เนื่องจากสายสัญญาณมีการตีเกลียวของแต่ละคู่สาย ทำให้เกิดค่าความต้านทานจากการขดและพันกัน ต้องอยู่ในช่วง 85-115 Ohms
  • Return Loss เป็นค่าลดทอนของสัญญาณที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ค่า Impedance ภายในสาย จึงทำให้เกิดการลดทอน และเกิดสัญญาณสะท้อนกลับ โดยค่าที่วัดไดควรมากกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
  • Near End Crosstalk เป็นค่าสัญญาณรบกวนที่เกิดจากคู่สายสัญญาณแต่ละคู่กระทำกัน(สัญญาณรบกวนข้ามคู่สาย) โดย บริเวณที่เกิดสัญญาณรบกวนมากที่สุดจะอยู่บริเวณต้นทาง NEXT ที่วัดได้ต้องมีค่ามากกว่า Limit จึงจะผ่าน ผลทดสอบจะแสดงเฉพาะความถี่ที่มีค่า Margin น้อยที่สุด (worst case) ของแต่ละคู่สาย ซึ่งค่าที่วัดได้ควรมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
  • Power Sum Near End Crosstalk เป็นค่าการรบกวนของสัญญาณระหว่างคู่สายสัญญาณคู่อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทดสอบ สัญญาณคู่นั้นๆ เหมาะสำหรับระบบที่มีการใช้งานสายสัญญาณพร้อมกัน 4 คู่สาย โดยมีค่าไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
  • ACR เป็นค่าที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง Attenuations และ NEXT ซึ่งแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของสายสัญญาณ โดยดูจากผลของค่าลดทอนและการรบกวนจากสายนอกควบคู่กัน ซึ่งค่า ACR ที่มากกว่ามาตรฐานจะทำให้รับส่งข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
  • PSACR เป็นค่าที่แสดงอัตราส่วน ACR ที่ได้รับการรบกวนจากคู่สายอื่นที่ทำการวัดร่วมด้วย โดยผลที่ได้จะไม่คำนึงถึงค่า PSNEXT ซึ่งควรมีค่ามากกว่ามาตรฐานที่กำหนด
  • Equal level far End Crosstalk เป็นผลของการรบกวนจากสายสัญญาณคู่อื่น ที่ทำงานทดสอบสายสัญญาณคู่นั้นๆ รวมไว้ด้วยกัน โดยทำการวัดการรบกวนชนิดนี้ ทางด้านปลายทาง ซึ่งต่างกับ NEXT ที่ทำการวัดการรบกวนทางด้านต้นทาง ซึ่งค่ารบกวนมาค่ามากกว่ามาตรฐาน เช่นเดียวกับ NEXT
  • PSELFEXT เป็นผลรวมของการทดสอบแบบ ELFEXT โดยเป็นการรบกวนจากสายสัญญาณคู่อื่นรบกวนสายสัญญาณที่ทำการทดสอบ ซึ่งควรมีค่ามากกว่ามาตรฐานที่กำหนด

เครื่องเช็คสายแลน FLUKE DTX-1800

การอ่านค่า เครื่องทดสอบสายสัญญาณ FLUKE Networks รุ่น DTX-1800 Cable Analyzer

เครื่องทดสอบสายสัญญาณ FLUKE Networks

  • Change Media มีหน้าที่ในการเปลี่ยนหรือเลือกสายที่เราจะทำการทดสอบ หลังจากที่เราทำการเลือกสายที่จะทดสอบแล้ว ต่อไป เราก็ทำการทดสอบสายโดยการกดที่ ปุ่ม Test หลังจากนั้นเครื่องก็จะทำการทดสอบสายโดยขึ้นหน้าจอ Testing
  • Resistance เป็นค่าความต้านทานของสัญญาณ มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ohms)
  • Length คือความหมายของสายสัญญาณที่ใช้แต่ละจุด เริ่มตั้งแต่สาย Patch Panel ในตู้ RACK จนถึงสาย Patch Panel ที่ต่อเข้ากับ Work Station สามารถเดินสายสัญญาณได้ไกลที่สุด 100 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ยังทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ดี
  • Prop. Delay เป็นค่าของเวลาที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจากต้นทางมายังปลายทาง (Propagation Delay) ที่สายแต่ละคู่ใช้มีหน่อยเป็น nanosecond (ns,10-9 second) โดยไม่ควรมีค่าเกิน 555 ns.
  • Delay Skew เป็นค่าความแตกต่างของเวลา ที่ใช้ในการสื่อสารเทียบกับสายสัญญาณคู่ที่ใช้เวลา น้อยที่สุด หรือเป็นค่าความล่าช้าในการได้นับสัญญาณที่ส่งมาของแต่ละคู่โดยที่เวลาที่ใช้ในการสื่อสารของแต่ละคู่จะต้องไม่ต่างกันเกิน 50 ns หากเกินช่วงเวลานี้อาจทำให้การติดต่อสื่อสารผิดพลาดได้
  • Insertion Loss เป็นค่าการสูญเสียเนื่องจากการใส่แทรก
  • Return Loss เป็นค่าลดทอนของสายสัญญาณที่เกิดจาการเปลี่ยนแปลงค่า Impedance ภายในสาย จึงทำให้เกิดการลดทอด และเกิดสัญญาณสะท้อนกลับ โดยค่าที่วัดได้ควรมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
  • NEXT Near End Crosstalk เป็นค่าสัญญาณรบกวนที่เกิดจากคู่สายสัญญาณแต่ละคู่กระทำกัน (สัญญาณรบกวนข้ามคู่สาย) โดยบริเวณที่เกิดสัญญาณรบกวนมากที่สุดจะอยู่บริเวณต้นทาง NEXT จะมีค่าเป็นลบในทางทฤษฏี แต่ค่าที่แสดงในผลทดสอบจะออกมาเป็นค่าบวก ดังนั้นค่า ที่วัดได้ต้องมีค่าที่มากกว่า limit จึงจะผ่าน ผลทดสอบ จะแสดงเฉพาความถี่ที่มีค่า margin น้อยที่สุด (worst case) ของแต่ละคู่สาย ซึ่งค่าที่วัดได้ควรมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
  • PSNEXT Power Sum Near End Crosstalk เป็นค่าการรบกวนของสายสัญญาณระหว่างคู่สายสัญญาณคู่อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทดสอบสายสัญญาณคู่นั้นๆ เหมาะสำหรับระบบที่มีการใช้งานสายสัญญาณพร้อมกัน 4 คู่สาย โดยมีค่าไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
  • ACR เป็นค่าที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง Attenuation และ NEXT ซึ่งแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของสายสัญญาณ โดยดูจากผลของค่าลดทอนและการรบกวนจากสายนอกครบคู่กัน ซึ่งค่า ACR ที่มากกว่ามาตรฐานจะทำให้รับส่งข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
  • PSACR เป็นค่าที่แสดงอัตราส่วน ACR ที่ได้รับการรบกวนจากคู่สายอื่นที่ทำการวัดร่วมด้วย โดยผลที่ได้จะไม่คำนึงถึงค่า PSNEXT ซึ่งควรมีค่ามากกว่ามาตรฐานที่กำหนด
  • ELFEXT Equal level far End Crosstalk ซึ่งเป็นผลของการรบกวนจากสายสัญญาณคู่อื่น ที่ทำการทดสอบสายสัญญาณคู่นั้นๆ รวมไว้ด้วยกัน โดยทำการวัดการรบกวนชนิดชี้ ทางด้านปลายทาง ซึ่งต่างกับ NEXT ที่ทำการวัดการรบกวนทางด้านต้นทาง ซึ่งค่ารบกวนมีค่ามากกว่ามาตรฐาน เช่นเดียวกับ NEXT
  • PSELFEXT เป็นผลรวมของการทดสอบแบบ ELFEXT โดยเป็นการรบกวนจากสายสัญญาณคู่อื่นรบกวนสายสัญญาณที่ทำการทดสอบ ซึ่งควรมีค่ามากกว่ามาตรฐานที่กำหนด
  • SAVE กดปุ่ม SAVE แล้วตั้งชื่อเพื่อทำการเซฟการTEST แล้วกดปุ่ม SAVE เพื่อทำการ SAVE
  • Impedance เป็นค่าความต้านทานของขดลวดของสายสัญญาณแต่ละคู่ มีหน่วยเป็นโอห์ม(Ohms)เนื่องจากสายสัญญาณมีการตีเกลียวของแต่ละคู่ละคู่สาย ทำให้เกิดค่าความต้านทานจากการขดและพันกัน ต้องอยู่ในช่วง 85-115 Ohms

การ SETUP เครื่องทดสอบสายสัญญาณ FLUKE Networks รุ่น DTX-1800 Cable Analyzer

การ SETUP เครื่องทดสอบสายสัญญาณ FLUKE Networks

  • Twisted Pair เป็นการตั้งค่าของโหมดสาย UTP ที่เราจะนำมาทำการทดสอบ
  • Test Limit เป็นการตั้งเกณฑ์การวัดของสายที่เราจะทำการทดสอบ
  • Cable Type เป็นการเลือกชนิดของสายที่เราจะทำการทดสอบ
  • NVP ค่าความเหนี่ยวนำในสาย
  • Outlet Configuration เป็นการกำหนดมาตรฐานในการทดสอบ
  • HDTDX/HDTDR การตั้งค่าการแสดงผลของการทดสอบว่า ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน

 

          จากบทความข้างต้น เราคงเข้าใจถึงการทดสอบสายแลน (LAN) กันแล้วว่า ทำไมต้องทดสอบสายแลน (LAN) มีวิธีการทดสอบอย่างไร มีอุปกรณ์อะไรบ้าง อ่านค่าการทดสอบอย่างไร และทุกคนคงจะเข้าใจได้ถึงความสำคัญของการทดสอบสายแลน (LAN) กันแล้ว

และถ้าหากคุณกำลังมองหาอุปกรณ์ในการทดสอบสายแลน (LAN) หรือสายแลนคุณภาพสูง ที่เหมาะกับการใช้งานของคุณ คุณสามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมและรับคำปรึกษาฟรี ได้ที่

บริษัท โฟคอมม์ (ประเทศไทย) จำกัด

โทร : 02-973-1966

Admin : 063-239-3569

E-mail : info@focomm-cabling.com

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *