Router คืออะไร ทำไมทุกบ้านถึงใช้ Router

Router คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะกล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดจิ๋ว ที่เป็นเครื่องมือในการกระจายตัวสัญญาณอินเทอร์เน็ต และเป็นตัวขยายสัญญาณข้อมูลไปยังอุปกรณ์ดิจิตอลชนิดต่างๆ ที่รอคอยรับสัญญาณเครือข่ายตรงจุดหมายปลายทาง

Router

          เทคโนโลยี ณ ขณะนี้ทั่วทั้งโลกการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบ LAN, WLAN, หรือ Internet นั้นต่างต้องมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการต่อทั้งสิ้น โดยเราอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดีกับอุปกรณ์ที่ว่านี้ที่มีรูปร่างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่พวกเราทุกคนต่างก็รู้จักกันในชื่อว่า “เราเตอร์”

          ปัจจุบันนี้ Router ถูกใช้งานมากในที่อยู่อาศัย และ Office ขนาดเล็ก โดยทำหน้าที่ส่ง IP Packet ระหว่าง Computer ภายในที่อยู่อาศัยไปสู่ระบบ Internet ตัวอย่างเช่น DSL Router ที่ใช้งานเชื่อมต่อ Internet ไปยัง Internet Service Provider (ISP) ส่วนระบบ Router ขั้นสูง ได้แก่ Enterprise Routers ที่เชื่อมต่อธุรกิจขนาดใหญ่ หรือ ISP network ทำการส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านทาง Optical Fiber ไปยัง Internet Backbone

          เราเตอร์นั้นมีให้เลือกใช้ได้หลากหลาย อย่างที่เรารู้กันว่ามีทั้งรุ่นชนิดที่มีสาย (Wire) และชนิดที่ไร้สาย (Wireless) แต่นอกจากประเภทของ Router ทั้ง 2 ชนิดนี้แล้ว Router ยังมีประเภทอะไรอีกบ้าง ใช้ทำหน้าที่อย่างไร มีหลักการทำงานอย่างไร หรือมีประโยชน์อย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกันให้มากขึ้นเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ชื่อว่า “Router (เราเตอร์)”

Router คือ

          Router คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าเราแปลความหมายคำว่า Route จะแปลว่า “หนทาง” นั่นเอง ดังนั้น การทำงานหลักๆ ของเราเตอร์ก็คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด พร้อมทั้งเป็นคนกลางในการส่งต่อข้อมูลไปสู่ขอบข่ายอื่นที่ต่างกันเราเตอร์นั้น มีความพิเศษตรงที่ใช้งานกับ Traffic บน Internet โดยข้อมูลปกติจะถูกส่งต่อระหว่างเราเตอร์ด้วยกันผ่านระบบ Network ไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงปลายทาง ซึ่งเราเตอร์สามารถต่อเข้ากับ Network ได้หลาย network และจะมีการเก็บข้อมูลที่ เรียกว่า Routing Table หรือ Routing Policy ไว้ใช้ในการเลือกเส้นทางที่จะส่งข้อมูลข้าม Network ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่องในเวลาเดียวกัน โดยเราเตอร์นั้นจะมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานเรียกว่า Internetwork Operating System (IOS) และตัวเราเตอร์จะมีช่องที่ใช้เสียบต่อสายสัญญาณเรียกว่า Port LAN ซึ่งโดยทั่วไปมักมี 4 Ports หรือมากกว่า ใน Router 1 ตัว

ช่องเสียบ Port LAN

หน้าที่ของเราเตอร์

          หน้าที่หลักของ Router คือ การหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น เป็นควบคุมการกำหนดส่งเส้นทางการเชื่อมต่อกับสัญญาณเครือข่าย Internet ให้กับอุปกรณ์ดิจิตอลที่รองรับสัญญาณไวไฟในช่องทางที่ดีที่สุด โดยความเร็วการส่งสัญญาณเครือข่ายนั้นขึ้นอยู่กับความแรงของแพจเกจอินเทอร์เน็ตที่ใช้ด้วยเช่นกัน เพราะตัวอุปกรณ์ Route ทำหน้าที่แค่เป็นตัวรับสัญญาณเครือข่ายและทำการประเมินประสิทธิภาพของข้อมูล แล้วจึงส่งไปยังเครือข่ายในการกระจายสัญญาณให้กับอุปกรณ์ที่รับช่องทางเชื่อมต่อไวไฟที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
          ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI แม้ว่าในแต่ละระบบจะมี Packet ที่เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน

การทำงานของ เราเตอร์

การทำงานของเราเตอร์

          การทำงานของตัวเราเตอร์ จะทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ดิจิตอลที่อยู่ภายในอาณาเขตเครือข่ายโดยส่งต่อแพ็กเก็ตอินเทอร์เน็ตข้อมูลแบบหมุนเวียนส่งไป-กลับสัญญาณด้วยกันแบบคลื่นวิทยุ การทำงานข้อมูลแพจเกจในกระบวนการทำงานของเราเตอร์นี้ สามารถส่งสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ดิจิตอลหรือจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปยังอินเทอร์เน็ตได้ โดย Router จะทำการขอที่อยู่ IP ของอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเพื่อให้แพจเกจสามารถกำหนดส่งสัญญาณปลายทางให้กับตัวเครื่องดิจิตอลที่รอรับให้กับสายปลายทางที่ถูกต้อง

          โดยการทำงานของเราเตอร์ จะใช้โปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX เป็นต้น เมื่อมีการส่งข้อมูลให้กับเราเตอร์ ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer Router จะทำการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นข้อมูลที่ใช้โปรโตคอลระดับใด และเพื่อหาปลายทางที่ต้องการส่งข้อมูล เมื่อทำการตรวจสอบเสร็จเรียบร้อย เราเตอร์ก็จะส่งข้อมูลไปยังปลายทาง ซึ่งถือว่าจบกระบวนการทำงานของเราเตอร์

          เมื่อมีการนำเราเตอร์หลายตัวมาทำเป็น Interconnected Networks ซึ่งเราเตอร์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลของอุปกรณ์ปลายทางด้วย Dynamic Routing Protocol โดยแต่ละเราเตอร์จะสร้าง Routing Table ขึ้นมาเป็น List ที่ระบุเส้นทางระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันใน Interconnected Networks โดยตัวของเราเตอร์เองอาจจะมีการเชื่อมต่อที่แตกต่างกัน เช่น ใช้สายทองแเดง, สาย Fiber Optic หรือ Wireless ซึ่ง Firmware สามารถรองรับมาตราฐานของ Protocol ที่แตกต่างกันได้ และยังสามารถเชื่อมต่อในลักษณะ Logical Group หรือที่เรียกกันว่า Subnet ซึ่ง Routing Table เองก็สามารถใช้ Prefix Subnet เป็นเงื่อนไขในการเลือกเส้นทาง แทนที่จะต้องจดจำแยกทุก IP Address

ขั้นตอนการทำงานของเราเตอร์

          Control plane : Router เก็บ Routing Table ที่เป็นชุดเส้นทางสำหรับการส่งข้อมูลออกไปยังปลายทาง รวมถึง Physical Interface ซึงทำได้โดย Configure ที่ติดมาแต่เริ่มแรกทีเรียกว่า Static Route หรือ อาจจะใช้การเรียนรู้ผ่าน Dynamic Routing Protocol สำหรับ Static หรือ Dynamic Router จะถูกเก็บใน Routing Information Base (RIB) และ เมื่อเอามากรองส่วนที่ไม่จำเป็นออกจาก RIB เพื่อสร้างเป็น Forwarding Information Base (FIB) สำหรับให้ Forwarding-Plane ทำงาน
          Forwarding plane : Router จะทำการส่งข่อมูล Packet ทั้งขาเข้าและขาออก โดยอาศัยเส้นทางจาก Routing Table

เราเตอร์ลักษณะต่างๆ

เราเตอร์มีกี่ชนิด มีอะไรบ้าง

          เราเตอร์แต่ละชนิดจะมีระบบเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไปเพื่อการดำเนินการตามความเหมาะสมของผู้ใช้งาน ซึ่งเราเตอร์มีรูปแบบทั้งหมด 4 ชนิดได้แก่

  1. เราเตอร์ (Router)
              เป็น Router ชนิดต้นแบบที่มีการทำงานเป็นระบบส่วนกลาง ที่คอยรับส่งการกระจายตัวสัญญาณไปยังอุปกรณ์ที่รอเชื่อมปลายทางได้อย่างแม่นยำ แต่เราเตอร์ชนิดนี้เป็นอุปกรณ์ที่ไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้เราเตอร์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมช่วยในการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตอย่างสาย LAN และสายเคเบิลอินเทอร์เน็ต (Ethernet) ในการรับ-ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบเครือข่าย อย่างไรก็ตาม จุดเด่นของเราเตอร์ชนิดนี้คือ มีการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และไม่ค่อยมีความผิดพลาดในการทำงาน
  2. โมเด็มเราเตอร์ (Modem Router/ADSL Router)
             เป็น Router ที่เป็นการผสมผสานความสามารถระหว่าง Modem และ Router ไว้ด้วยกัน สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ด้วยตัวเอง และมีระบบ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) ภายในตัวที่สามารถกระจายสัญญาณเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว และสามารถส่งข้อมูลแพจเกจได้ในระยะไกลด้วยความเร็วสูง เพียงแค่สายโทรศัพท์คู่ธรรมดาเป็นสายตัวกลางในการเชื่อมต่อใช้เท่านั้น โดยส่วนมากแล้วจะมี Port LAN มาให้ด้วย 4 ช่องด้วยกัน ซึ่งเราเตอร์ชนิดนี้เป็นชนิดที่นิยมใช้ติดตั้งภายในออฟฟิศและที่อยู่อาศัยมากที่สุด
  3. ไวเลสมอเด็มเราเตอร์ (Wireless ADSL Modem Router)
              เป็น Router ที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ด้วยตัวเอง และมีระบบ ADSL ภายในตัวในการเข้าถึงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้แบบไร้สาย เพราะเราเตอร์ชนิดนี้มีฟิลเตอร์ระบบของ ADSL Spitter ที่คอยแยกสัญญาณที่สามารถใช้งานอุปกรณ์ดิจิตอลในขณะที่เล่นอินเทอร์เน็ตได้ โดยยกตัวอย่างเช่น หากสนทนากับบุคคลในสมาทโฟนผู้ใช้สามารถเข้าแอฟพลิชันที่เชื่อมต่อกับอินเนอร์เน็ตได้อย่างอิสระโดยไม่ถูกสัญญาณนอกรบกวนใดๆ ซึ่งขั้นพื้นฐานของวัสดุอุปกรณ์ จะประกอบด้วย Port LAN 4 พอร์ต อีกทั้งมีเสาสัญญาณที่ใช้ในการกระจายสัญญาณไวไฟจำนวน 2 เสา เราเตอร์ชนิดนี้นับว่ามีความคล่องแคล่วมากมาย และก็เป็นที่นิยมใช้งานกันมากมายในสมัยปัจจุบัน
  4. ไวเลสเราเตอร์ (Wireless Router)
              เป็น Router ที่ไม่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ด้วยตัวเอง ต้องมีอุปกรณ์เชื่อมต่ออย่างสาย LAN เพื่อเข้าระบบ เราเตอร์ชนิดนี้สามารถเข้าถึงและกระจายสัญญาณระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้แบบไร้สายในวงกว้าง มีการกระจายสัญญาณผ่านสายนำสัญญาณจาก Port LAN ทั้ง 4 พอร์ตที่มีการติดตั้งมากับตัวเครื่องมือ และอีกทั้งไวเลสเราเตอร์สามารถเป็นอุปกรณ์ Access Point ในการใช้งานในหลากหลายรูปแบบสำหรับการเป็นระบบภายในองค์กรเช่นกัน

การติดตั้งเราเตอร์

ประโยชน์ของ Router

          เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่จัดการความเรียบร้อยของเครือข่ายให้สามารถรับและส่งข้อมูลปลายทางผ่านช่องทางที่ดีที่สุดอย่างมีระเบียบ โดยมีประโยชน์ในการจัดการเข้าถึงระบบเครือข่ายต่อไปนี้

  • การกระจายสัญญาณ : เราเตอร์เป็นเครื่องมือที่เป็นตัวกระจายสัญญาณวงกว้างให้กับอุปกรณ์หลายเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย ให้สามารถเข้าถึงได้อินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การป้องกันข้อมูล : เราเตอร์บางรุ่นมีระบบป้องกันข้อมูลส่วนตัวภายในอุปกรณ์ หรือมีการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสมาให้ ทำให้ผู้ใช้เครือข่ายสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย
  • การส่งข้อมูล : เราเตอร์สามารถลัดการส่งข้อมูลของผู้ส่งที่สำคัญกว่าให้เข้าระบบเครือข่ายให้กับผู้รับอย่างรวดเร็ว
  • ความหยืดยุ่นในการเชื่อมต่อ : เราเตอร์สามารถทำงานกับอุปกรณ์เชื่อมต่อได้หลากหลายชนิด เพราะตัวเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีความหยืดยุ่นสูง ทำให้เราเตอร์สามารถรองรับเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ทุกเทคโนโลยีเก่าและใหม่ล่าสุด
  • การเพิ่มการใช้งาน : เราเตอร์สามารถช่วยเพิ่มการใช้งานของระบบเครือข่ายได้ เพราะเราเตอร์หนึ่งตัวสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้มากกว่า 1 เครื่องทำให้เราสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายได้มากตามลักษณะการใช้งาน
  • การประหยัดค่าใช้จ่าย : เราเตอร์ที่สามารถปล่อยสัญญาณไวไฟหรือ wireless ได้นั้น ยังช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายนำสัญญาณและทำให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้งาน นอกจากนั้นเราเตอร์ยังมีความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งผ่าน wireless อีกด้วย
  • การกำหนดความสำคัญ : เราเตอร์สามารถกำหนดความสำคัญในการส่งข้อมูล และเลือกเส้นทางในการที่จะส่งข้อมูลได้ เช่น สามารถกำหนดได้ว่าหากข้อมูลที่ส่งไปอยู่ในรูปแบบของโปรโตคอลที่มีลำดับความสำคัญสูง ก็สามารถลัดคิวส่งออกไปได้ก่อน

ข้อเสียของเราเตอร์

  • การทำงานภายใต้ OSI : เราเตอร์ทำงานภายใต้ OSI เท่านั้น และจะไม่ติดต่อหรือส่งข้อมูลในรูปแบบของโปรโตคอลที่ไม่รู้จัก
  • ราคา : เราเตอร์ราคาแพงกว่า Switch และ Hub มาก

          ในการเลือกใช้งานจริงเราไม่ได้ดูแต่ประโยชน์ที่เป็นข้อดี หรือว่าข้อเสียของการใช้งาน การเลือกใช้เราเตอร์ควรคำนึงถึงการใช้งานของตัวผู้ใช้งานเป็นหลัก ว่าควรเลือกใช้ชนิดเราเตอร์รุ่นแบบไหนที่เข้ากับสไตล์การใช้งานของผู้ใช้งาน โดยเราเตอร์ชนิดที่ดีที่สุดและเข้ากับการใช้งานได้ทุกสถานการณ์ คือ ไวเลสโมเด็มเราเตอร์ (Wireless ADSL Modem Router) ที่ สามารถกระจายสัญญาณและส่งรับข้อมูลภายในเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว คงที่ และมีความเสถียรสูง อีกทั้งบางรุ่นชนิดนี้มีออกแบบขนาดเล็กพกพาได้ทุกที่ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในการเดินทางบ่อยๆ อีกทั้งยังเป็นประเภทที่ราคาไม่ได้สูงมากด้วย นั้นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมคนในปัจจุบันถึงนิยมใช้เราเตอร์ทั้งในที่อยู่อาศัย และภายในองค์กรต่างๆ

          ถ้าคุณสามารถเลือกประเภทของเราเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของคุณได้แล้ว และกำลังหาอุปกรณ์สาย LAN หรือสาย Fiber Optic คุณภาพสูง ที่มีประสิทธิภาพในการรับ-ส่งข้อมูลที่ดี เหมาะกับเราเตอร์ของคุณ สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมและรับคำปรึกษาฟรี ได้ที่
บริษัท โฟคอมม์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทร : 02-973-1966
Admin : 063-239-3569
E-mail : info@focomm-cabling.com