Switch คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร มีหน้าที่การทำงานอย่างไร ต่างกับ Router ยังไง

Switch คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกล่องเล็กๆ มีพอร์ตเชื่อมต่อหลายๆ พอร์ต เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อระบบ ให้อุปกรณ์อื่นๆ เพื่อรับส่งข้อมูลในรูปแบบ IP ระหว่างอุปกรณ์แต่ละตัวในระบบเข้าด้วยกัน ผ่านสายแลน หรือสายใยแก้วนำแสง

Switch คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร มีหน้าที่การทำงานอย่างไร ต่างกับ Router ยังไง

          โดยทั่วไปแล้ว เรารู้ว่า Switch คือ อุปกรณ์ที่ใช้รับส่งข้อมูล และเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่าย internet  แล้วนอกเหนือจากนั้น สวิตช์ทำหน้าที่อะไร มีกระบวนการทำงานอย่างไร มีกี่ประเภท แบ่งอย่างไร แล้วผู้ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์อะไรจากสวิตช์ได้บ้าง บทความนี้จะอธิบายให้ทุกคนรู้เอง ว่านอกจากการรับส่งของมูล และเชื่อมต่อแล้วสวิตช์ยังสามารถทำอะไรได้อีกบ้าง

Switch คือ

           Switch หรือ Network Switch คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกล่องเล็กๆ ประกอบด้วยพอร์ตเชื่อมต่อหลายๆ Port ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อระบบ ให้อุปกรณ์อื่นๆ อาทิเช่น คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์ POS, Printer, IP Phone หรือ Server เพื่อรับส่งข้อมูลในรูปแบบ IP ระหว่างอุปกรณ์แต่ละตัวในระบบเข้าด้วยกัน ผ่านสายแลน (UTP Cable) หรือสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable)

          การรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างต้นทางและปลายทางจะใช้หลักการ คือ อุปกรณ์แต่ละตัวที่ต่อเข้ากับ Network Switch จะได้รับหมายเลข Network address เป็นตัวบอกหมายเลขของแต่ละอุปกรณ์ เพื่อให้การรับส่งข้อมูลสามารถส่งไปยังอุปกรณ์ตามหมายเลขของแต่ละอุปกรณ์ที่ระบุดังกล่าวได้แบบเจาะจงและถูกต้อง ทั้งยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับเครือข่าย ช่วยป้องกันการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์จากการขัดขวางของอุปกรณ์อื่นๆ ในเครือข่ายเดียวกันเพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้รั่วไหลไปในเครือข่ายเน็ตเวิร์คนอก

          กล่าวโดยสรุปแล้ว Switch คือ อุปกรณ์กระจายสายแลนไปยังพื้นที่ต่างๆ ของอาคารเพื่อให้อุปกรณ์อื่นๆ เสียบเพื่อเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่าย หรืออินเตอร์เน็ตนั่นเอง

หน้าที่ของสวิตช์

หน้าที่หลักๆ ของสวิตช์ ประกอบด้วย

    • รับและส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบเครือข่ายให้สื่อสารกันได้
    • เพิ่มจำนวน Port ให้กับระบบเครือข่ายที่มีอยู่แล้ว เพื่อรองรับจำนวนการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่มากขึ้น
    • คอยเก็บข้อมูลของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อด้วย เพื่อจัดระเบียบและตรวจสอบข้อมูลในภายหลัง
    • สามารถใช้เป็นสะพานเพื่อเชื่อมต่อระบบ Network จำนวน 2 เครือข่ายเข้าหากัน
    • เปรียบเสมือนประตูที่คอยเปิดและปิดเพื่อประมวลสัญญาณแต่ละเครือข่าย ให้สามารถเข้าถึงกับอุปกรณ์รับสัญญาณปลายทางได้อย่างปลอดภัย

การทำงานของสวิตช์

          หลักการทำงานของสวิตช์ จะแบ่งการทำงานเป็นชั้นสื่อกลางการส่งข้อมูลในรูปแบบระบบ 2 ชั้น (Data Link Layer 2) มีหน้าที่ แบ่งแยกการส่งเส้นทางภายในอาณาเขตของ Internet Switch แต่ละเครือข่าย และการคัดกรองข้อมูลที่สำคัญที่สุด ให้ถูกจัดหมวดหมู่เป็นลำดับแรก เพื่อส่งให้ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์รับสัญญาณที่จุดหมายปลายทางได้ไม่ทับซ้อนกัน โดยสวิตช์สามารถแบ่งรูปแบบการทำงานได้ 3 วิธี ดังนี้

หลักการทำงานของสวิตช์ จะแบ่งการทำงานเป็นชั้นสื่อกลางการส่งข้อมูลในรูปแบบระบบ 2 ชั้น (Data Link Layer 2)
  1. Access Switch หรือ Edge Switch ทำหน้าที่จัดการการรับส่งข้อมูลเข้าและออกจากเครือข่าย สายสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลมักเป็นแบบสายแลน (UTP Cable) ในโครงข่ายขนาดเล็ก อาจใช้เชื่อมต่อโครงข่ายหลักระหว่าง Server กับ Router/Gateway จนถึงอุปกรณ์ปลายทางได้โดยตรง Access Switch ทำงานบน Layer 2 (Managed) บางรุ่นทำงานบน Layer3 ใช้กำหนด VLAN ของแต่ละ Port เพื่อต่อไปยังอุปกรณ์ปลายทาง เช่น Access Point, Computor, Printer, IP Phone, IP Camera, etc.
  2. Aggregation switches หรือ Distribution Switch : ใช้เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อโครงข่ายเพื่อรับส่งข้อมูลระหว่าง Access Switch หลายๆ ตัว ไปยัง Core Switch เป็นเสมือนท่อขนาดกลาง มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้น้อยกว่า Core Switch แต่สูงกว่า Access Switch สายสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลมักเป็นแบบสายแลน (UTP Cable) และสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ทำงานบน Layer 3 และมีความสามารถในการทำ Redundancy
  3. Core Switch : ใช้เป็นศูนย์รวมกลางในการเชื่อมต่อโครงข่ายหลักระหว่าง Server กับ Router/Gateway รวมถึงการเชื่อมระหว่าง Server กับ Access Switch และ Distribution Switch เป็นเสมือนท่อขนาดใหญ่สามารถรับส่งข้อมูล (Switch Capacity) ได้จำนวนมาก สายสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลมีทั้งแบบสายแลน (UTP Cable) และสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) อธิบายทางเทคนิคได้ว่า Core Switch ทำงานบน Layer 3 ทำ Access List เพื่อ Route ข้าม VLAN เพื่อใช้เป็น Trunk หรือ Uplink ต่อไปยัง Access Switch แต่ละตัวหรือแม้กระทั่ง Server โดยตรง

Switch: Layer 2 และ Layer 3 ต่างกันอย่างไร

          Switch นั้้นสามารถทำงานได้บน Layer 2 และ Layer 3 เรามาดูกันว่าแต่ละแบบ คืออะไร แตกต่างกันยังไง พร้อมทั้งมีข้อดีอย่างไร

Layer 2

          Layer 2 นั้น ใช้เรียกสวิตช์ที่เป็นโมเดลแบบ OSI (Open System Interconnect) ซึ่งจะทำหน้าที่เชื่อมต่อการสื่อสารภายในระบบเครือข่ายเข้าหากันเป็นหลัก มีหลักการการทำงานโดยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ และ MAC Address ในระบบ เข้ากับระบบเครือข่ายอย่างเป็นระบบ เพื่อกำหนดเส้นทางผ่านที่เฟรมจะถูกส่งต่อ ใช้เทคนิคการสลับโดยใช้ฮาร์ดแวร์เพื่อเชื่อมต่อและส่งข้อมูลในเครือข่ายท้องถิ่น หากสวิตช์เชื่อมต่อกับเส้นทางเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมี hub คอยช่วยแจกจ่ายสัญญาณข้อมูลให้กับจุดหมายปลายทางอีกที

ข้อดี คือ สามารถช่วยส่งผ่านข้อมูลได้อย่างเรียบง่ายและรวดเร็วผ่าน MAC Address โดยไม่ต้องตั้งค่าให้ยุ่งยาก ติดตั้งง่าย รวดเร็ว และมีราคาที่ถูกทั้งตัวอุปกรณ์ และค่าดำเนินการ สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัย

Layer 3

          Layer 3 Switch มีความเร็วในการเปิดเส้นทางของตัว switch ได้อย่างรวดเร็ว และเป็นสวิตช์รุ่นที่ที่ช่วยให้การทำงานใน Network มีประสิทธิภาพที่สูง โดยได้รวบรวมเอาส่วนประกอบฟังก์ชั่นของเราเตอร์(Router)มาเสริมการทำงานของตัว Switch อีกทั้งทำให้การเปิดเส้นทางเครือข่ายภายในระบบ Lan ทำได้เร็วขึ้น โดย Computer ที่เชื่อมต่อ ต้องมี Default Gateway สำหรับการเชื่อมต่อ Layer 3 กับเครือข่ายอื่นๆ
          สวิตช์ประเภทนี้ ช่วยให้ User สามารถผสมผสานฟังก์ชั่นของ Switch และ Router เข้าด้วยกัน โดยทั้งเชื่อมอุปกรณ์ภายในเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเชื่อมกับเครือข่ายอื่นๆ ที่ตั้งค่าไว้ สวิตช์ประเภทนี้รองรับการ Routing Protocols ช่วยให้ตรวจสอบข้อมูลที่ไหลเวียนอยู่ในระบบ พร้อมทั้งบริหารจัดการได้อย่างครอบคลุม ทั่วถึง

ข้อดี คือ ช่วยให้สามารถสื่อสารข้ามเครือข่ายกันได้, สามารถตั้งค่าความปลอดภัยหรือ Security ได้อย่างเป็นระบบ, ลดค่า Traffic ที่หนาแน่น, ง่ายต่อการ Config ค่าสำหรับ VLANs และทำงานได้อย่างรวดเร็ว เพราะไม่ต้องทำงานผ่าน Router อีกที

ประเภทของสวิตช์

          Network Switch นั้นมีหลายประเภทมากมาย ซึ่งแต่ละรูปแบบ นั้นถูกคิดค้นและสร้างมาเพื่อรองรับการใช้งานที่ต่างกัน แล้วแต่ผู้ที่ต้องการใช้งานจะเลือกใช้ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกันว่าแต่ละประเภทของ Switch นั้นมีอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้เลือกใช้งานได้อย่างถูกต้อง

Unmanaged Network Switch

Unmanaged Network Switch
สวิตช์แบบ Unmanaged Network

          เป็น Switch แบบมาตรฐานที่ราคาถูก แต่มีฟังก์ชั่นที่มีประสิทธิผล มีความง่ายในการใช้งานไม่จำเป็นต้องตั้งค่าสามารถเสียบปลั๊กและใช้งานได้เลย เรียกว่า “plug and play” หน้าที่หลักๆ คือ เพื่อใช้เพิ่มจำนวน Ethernet Port ให้กับระบบเครือข่ายข่าย กลุ่มประเภทที่นิยมใช้งานกันในออฟฟิศขนาดเล็ก หรือพื้นที่ Commercial ที่ไม่ได้ใช้ระบบเครือข่ายมากมาย

Managed Network Switch

Managed Network Switch
สวิตช์แบบ Managed Network

          เป็น Switch ที่ใช้เพื่อการควบคุม และบริหารจัดการ ที่มีประสิทธิภาพยื่งขึ้น มีฟังก์ชั่นที่แอดวานซ์มากขึ้น โดยจะมี Built-in Dashboard หรือ Interface ในตัว มักใช้เชื่อมต่อกับ Web Browser เพื่อทำการตั้งค่าได้อีกที ช่วยให้ User ที่เป็น Admin ใช้มอนิเตอร์ หรือตรวจสอบข้อมูลรับส่งในระบบเครือข่ายทั้งหมด ในขณะที่ Traffic กำลังวิ่ง การทำงานของอีกรูปแบบหนึ่งของ Managed Switch คือ การกำหนดการเข้าถึง, การทำ Port Mirroring, การทำ Redundancy, การจัดค่าความสำคัญของอุปกรณ์ และอื่นๆ อีกมากมาย โดย Managed Switch สามารถออกแบบให้ทำงานแบบ Manual ที่มีความยืดหยุ่น หรือ Smart Switch ก็ได้ ถือว่าเหมาะกับองค์กรระดับใหญ่ ที่ต้องการความ High Availability มั่นคงของระบบ

PoE Network Switch

          PoE หรือ “Power over Ethernet” สวิตช์ประเภทนี้ มีไฟเลี้ยงออกมาจากพอร์ตแต่ละพอร์ตด้วยจะสามารถส่งผ่านพลังงานให้กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับตนผ่านสาย RJ-45 แทนที่จะส่งได้แต่ข้อมูลเพียงอย่างเดียว ถ้าอุปกรณ์ในเครือข่ายส่วนใหญ่เป็นแบบ PoE-enabled เช่น VOIP IP Phones, IP Camera, RFID Reader ยิ่งเหมาะสมกับ PoE Network Switch เพื่อการใช้งานที่ยืดหยุ่น และลดจำนวนสายไฟ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ปลั๊กไฟจำกัด แถมยังช่วยให้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อมีความเสถียรมากขึ้นอีกด้วย

Stackable Network Switch

          Stackable Switch คือ สวิตช์ที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเองโดดๆ ตัวเดียว หรือจะทำงานร่วมกับ Stackable Switch ตัวอื่นๆ เมื่อทำการเชื่อมต่อกัน สวิตช์แต่ละตัวจะถูกรวมเข้าทำงานด้วยกันเสมือนเป็น Switch ตัวใหญ่ตัวเดียว โดยประสิทธิภาพที่ได้ ก็จะขึ้นกับว่าเราเชื่อมต่อเข้าด้วยกันกี่ตัว ช่วยให้คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายของคุณ ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความเชื่อถือได้ ด้วยสวิตช์แบบ Stackable Switch

ข้อดีของสวิตช์

    • สวิตช์มีการกระจายและส่ง-รับสัญญาณได้มีระเบียบ มีระบบการจัดการด้วยตัวเองตัวระบบมีการจดจำ IP address ของแต่ละอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รองรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สวิตช์สามารถจัดส่งข้อมูลได้อย่างแม่นยำ
    • สวิตช์สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้หลากหลายช่องทาง กับอุปกรณ์ได้ทุกพอร์ต ทำให้สวิตช์สามารถรองรับเชื่อมต่อเครือข่ายเน็ตเวิร์คได้รวดเร็ว
    • ความเร็วการส่งสัญญาณมีความเร็วมากกว่าอินเทอร์เน็ตไร้สาย มีการจัดลำดับการกรองข้อมูลแบบเป็นขั้นเป็นตอน ทำให้สามารถส่งข้อมูลแบบจัดเรียบเรียงได้อย่างเป็นระเบียบ
    • มีความปลอดภัยจากการเชื่อมต่อ เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิ้ล

ประโยชน์ของการใช้สวิตช์

          การมีสวิตช์ติดตั้งภายในบ้านหรือภายในองค์กร จะช่วยให้ระบบการทำงานมีระเบียบและเป็นแบบแผนให้กับพนักงานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลประโยชน์จากการใช้งานสวิตช์ มีดังนี้

  • ทีมงานอิเล็กทรอนิกส์ (IT employees)
              สำหรับบริษัททั่วไป แผนกไอทีสามารถใช้สวิตช์ เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่ระบบเครือข่ายของออฟฟิศ เช่น การเชื่อมคอมพิวเตอร์, ปริ้นเตอร์, สแกนเนอร์ และ อุปกรณ์อื่นๆ และยังสามารถใช้สวิตช์ช่วยเพิ่มสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ช่วยให้การทำงานของพนักงานไอทีสะดวกขึ้น เพื่อเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้หลากหลายแพตฟอร์ม
  • ทีมงานสร้างเนื้อหา (Content creators)
              ทีมงานบุคคลากรแผนกนี้ จำเป็นต้องทำงานกับบุคคลนอกองค์กร หรือลูกค้า สามารถใช้สวิตช์เพื่อสร้างช่องทางเครือข่ายเชื่อมต่อระบบการทำงาน ใช้ในการช่วยอัพโหลดส่งไฟล์ขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว ผ่านระบบเครือข่าย จะช่วยให้การดำเนินงานมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ทีมพัฒนา (Software developers)
              ช่วยให้แผนก Development Team สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น Server, ข้อมูล, อุปกรณ์ หรือคอมพิวเตอร์ ทำให้ทีมนักพัฒนาสามารถต่อยอด software ในตัวการทำงานของทีม ให้มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคต และอีกทั้งยังช่วยพัฒนาระบบการจัดการของตัวสวิตช์ ให้สามารถรองรับการเข้าถึงอุปกรณ์ชนิดอื่นๆอได้หลากหลายรูปแบบ ช่วยให้ Dev Team สามารถรับข้อมูลสำคัญได้ตลอดเวลาเพื่อนำไปพัฒนาองค์กรได้อย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาที่อาจสูญเสียจากการโหลดส่งข้อมูล

สวิตช์มีประโยชน์กับใครบ้าง

          ทุกคนคงทราบกันแล้ว ว่า Switch นั้นทำอะไรได้บ้าง เป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อย่างไร อีกทั้ง สวิตช์ยังเป็นอุปกรณ์ที่สามารถต่อยอดพัฒนาเครือข่ายให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพสำหรับระบบในอนาคตไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมใดอีกด้วย และถ้าอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวอย่างของการใช้งาน Switch ในภาคอุตสาหกรรม สามารถเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

💥 คิดถึงสายไฟเบอร์และสินค้าโครงข่ายคุณภาพ คิดถึง Focomm 💥
สินค้า Fiber Optic และโครงข่ายคุณภาพระดับสากล
พร้อมบริการให้คำปรึกษา ออกแบบและจัดทำเอกสาร TOR สำหรับงานโครงการ ให้ตรงกับความต้องการของคุณ
☎️ Contact : 02-973-1966
☎️ Contact : 063-239-3569
🌏 Website : https://www.focomm-cabling.com
🟢 Line Official : https://page.line.me/focomm
นำเสนอโดย นายณัฐพล วลัยวิทย์ กรรมการบริษัทฯ