ตู้ OUTDOOR CABINET ตู้ภายนอกอาคาร เลือกซื้ออย่างไร ให้คุ้มค่า คุ้มราคา

บ่อยครั้งที่เราจำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ระบบ Network, อุปกรณ์โทรคมนาคม หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไว้กลางแจ้งหรือภายนอกอาคาร คงไม่ดีแน่หากเราจะปล่อยอุปกรณ์ที่มีค่าและราคาแพงเหล่านี้ไว้โดยเปล่าเปลือย ให้เผชิญกับลมฝนดินฟ้าสภาพภูมิอากาศโดยไม่มีอะไรป้องกัน วันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม นั่นก็คือตู้ Outdoor Cabinet สำหรับใช้จัดเก็บรวมทั้งป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ต่างๆ นานาที่จำเป็นต้องติดตั้งและใช้งานอยู่ภายนอกอาคาร

ตู้ OUTDOOR CABINET

 

ตู้ Outdoor Cabinet คืออะไร

ตู้ Outdoor Cabinet ก็คือตู้ที่ออกแบบมาสำหรับใช้จัดเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องติดตั้งและใช้งานภายนอกอาคาร เช่น

  • กล้องกล้องวงจรปิด (CCTV) หรือกล้อง IP Camera
  • เครื่องบันทึกภาพ (DVR / NVR)
  • ตัวแปลงสัญญาณ (Media Converter)
  • Industrial Ethernet Switch
  • ตัวกระจายสัญญาณ (Access Point)
  • สายไฟ, Adapter, เครื่องสำรองไฟ (UPS)
  • แผงกระจาย/แผงพักสายสัญญาณ (Patch Panel)
  • ODF (Optical Distribution Frame)
  • อุปกรณ์สำหรับจัดเก็บสายไฟเบอร์ออฟติก (FDU / FDF / ODF / Splice Tray)

ฯลฯ

ซึ่งอย่างที่เรารู้กันดีว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ล้วนมีความ sensitive บอบบางและอ่อนไหวได้ง่ายจากสิ่งรบกวนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฟ้าฝน ลมฝุ่น ความชื้น แสงแดดและความร้อน หรือแม้กระทั่งสัตว์รบกวนตัวจิ๋วอย่างมดและแมลง

ดังนั้น การเลือกใช้ตู้ Outdoor Cabinet จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพื่อปกป้องอุปกรณ์ที่มีค่าราคาแพงจากการโจรกรรม รวามทั้งความเสียหายที่จะเกิดจากสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานได้อย่างราบรื่น ไม่กระทบต่อระบบการดำเนินงานขององค์กรนั่นเอง

 

ลักษณะการติดตั้งตู้ภายนอกอาคาร (Mounting Options)

การใช้งานตู้ Outdoor Cabinet จะมีวิธีติดตั้งอยู่สามแบบหลักๆ ด้วยกัน นั่นก็คือ

  • วางหรือยึดติดบนพื้น (Floor-standing)
  • ติดตั้งเข้ากับเสา (Pole-mounted)
  • แขวนไว้กับผนัง (Wall-mounted)

ลักษณะการติดตั้งตู้ภายนอกอาคาร

 

ตู้บางรุ่นอาจออกแบบมาให้รองรับการติดตั้งได้หลายรูปแบบ ในกรณีที่ต้องการติดตั้งกับเสา คุณอาจต้องใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับยึดจับ ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนั้นให้สอบถามรายละเอียดนี้กับทางผู้จัดจำหน่ายด้วย

 

ลักษณะของตู้ภายนอกอาคารที่ดี (The Ideal Outdoor Cabinet)

ในการเลือกตู้ Outdoor Cabinet เพื่อมาใช้งานกลางแจ้งภายนอกอาคาร มีข้อควรพิจารณาหลายประการที่ควรคํานึงถึง ตัวอย่างของปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา ได้แก่

  • วัสดุและโครงสร้าง (Material and Construction)
               ตัวตู้สำหรับใช้ภายนอกอาคารจำเป็นต้องสร้างด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทาน ทนต่อการกัดกร่อน ไม่เป็นสนิมเมื่อสัมผัสน้ำหรือความชื้น โดยมากวัสดุที่นิยมใช้คือเหล็กกัลวาไนซ์ (Galvanized Steel), สแตนเลส, อลูมิเนียม หรือวัสดุผสม (composites) ฯ การทำสีก็ควรเป็นเทคโนโลยีที่กันน้ำและกันสนิม ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้สีฝุ่นโดยเข้ากระบวนการพ่นสีและอบสีแบบ Electro-static Powder Coating ตามมาตรฐาน ASTM และนอกจากวัสดุที่ใช้แล้ว การออกแบบโครงสร้างก็มีส่วนสำคัญต่อความแข็งแรงของตัวตู้เพื่อป้องกันความเสียหายทางกายภาพที่อาจเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
  • การป้องกันน้ำและความชื้น (Waterproofing)
               หน้าที่ประการสำคัญของตู้ Outdoor Cabinet คือปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากน้ำ ความชื้น และลมฝนที่สาดซัด ดังนั้นตัวตู้ต้องมีการ seal ปิดขอบอย่างสนิดมิดชิดเพื่อกันน้ำเข้า ตู้บางรุ่นอาจใช้วัสดุกันซึมเป็นขอบยาง (Rubber Shield) ในขณะที่บางรุ่นอาจใช้วัสดุกันซึมเป็น CNC Foam Gasket ซึ่งมีส่วนประกอบที่ทนทานต่อกรดและความร้อนได้ดี และมีอายุการใช้งานนานกว่าขอบยางทั่วไปถึง 80% ซึ่งต้องใช้กรรมวิธีและเครื่องจักรพิเศษในการผลิต
  • การป้องกันฝุ่น (Dust Filter)
               ฝุ่นละอองคืออีกหนึ่งศัตรูตัวร้ายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตั้งใช้งานในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของฝุ่นสูงหรือมีลมพัดแรง ตู้บางรุ่นจึงมีระบบป้องกัน เช่น มี Side panel สองชั้น, มีแผ่นกรองฝุ่นที่สามารถถอดทำความสะอาดได้ เป็นต้น
  • การป้องกันสัตว์รบกวน
               นอกจากน้ำและฝุ่นแล้ว ความเสียหายของอุปกรณ์ภายในอาจเกิดจากสัตว์ชนิดต่างๆ ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นแมลงตัวเล็กๆ ที่อาจเข้าไปไปทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์เกิดการช็อต สัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ฟันแทะที่อาจเข้าไปกัดสายไฟหรือสายสัญญาญให้ชำรุดเสียหาย ดังนั้นตู้บางรุ่นนอกจากจะมีฝาปิดและซีลปิดขอบให้มิดชิดแล้ว ยังอาจมีการติดตั้งตะแกรงป้องกันแมลงเข้าด้านใน เพื่อไม่ให้ชุดพัดลมเกิดความเสียหาย
  • ความปลอดภัย (Security)
               เพื่อความปลอดภัยของตัวอุปกรณ์ที่มีค่ารวมทั้งข้อมูลที่อยู่ภายใน ตัวตู้ควรมีกลไกการล็อคที่แน่นหนา (ปัจจุบันนิยมใช้กุญแจล็อกแบบ Push Handle Lock ฝังเรียบเสมอหน้าตู้) รวมทั้งมีการออกแบบเพื่อป้องกันการงัดแงะ (tamper-proofing) บางรุ่นที่มีราคาสูงอาจมาพร้อมระบบสัญญาณเตือน (alarm) หรือมีระบบ Access Control
  • ระบบระบายอากาศ (Ventilation System)
               ระบบระบายอากาศเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับตู้ที่ติดตั้งอยู่กลางแจ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอากาศเมืองไทยที่มีความร้อนสูง หากภายในตู้ไม่สามารถระบายอากาศได้ดี ความร้อนที่สะสมอาจทำให้อุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่เกิดการ Overheat ได้
    ดังนั้นควรพิจารณาว่าตัวตู้มีระบบระบายอากาศที่ดีไหม มีการเจาะครีบระบายอากาศที่ผนังข้าง (side panel) ทั้งสองด้านหรือไม่ สามารถใส่พัดลมได้กี่ตัว รองรับพัดลมขนาดเท่าใด ทั้งนี้ตู้บางรุ่นอาจมาพร้อมเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิเพื่อควบคุมการทำงานของระบบระบายอากาศด้วย
    การระบายอากาศที่ดีไม่เพียงแต่จะทำให้อุปกรณ์ภายในทำงานได้อย่างราบรื่น แต่ยังช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าและช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์อีกด้วย
  • การจัดระเบียบสาย (Cable Management)
               การจัดการสายภายในตู้ที่ดี นอกจากจะทำให้เกิดความเป็นระเบียบสวยงามตาแล้ว ยังทำให้ง่ายต่อติดตั้ง, การบํารุงรักษา และช่วยลดความเสี่ยงที่สายไฟและสายสัญญาณจะหักงอจนเกิดความชำรุดเสียหายอีกด้วย รูปแบบการจัดการสายที่ดีจะเริ่มตั้งแต่จุดทางเข้าออกของสายว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ (ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ทางฐานด้านใต้ของตู้ โดยมีจุกยางปิดช่องรูสายเข้า) รวมทั้งภายในตู้ควรมี Cable Wire Gride สำหรับยึดเก็บสายให้เรียบร้อย
  • พลังงานและการสำรองข้อมูล (Power and Backup)
               ตัวตู้ควรมีพื้นที่สำหรับติดตั้งอุปกรณ์จ่ายไฟและสำรองไฟ เพื่อรองรับความต้องการพลังงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ภายใน รวมทั้งควรมีการเชื่อมต่อสายกราวนด์เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรด้วย
  • ขนาดและความจุ (Size and Capacity)
               เลือกขนาดตู้ตามจำนวนและขนาดของอุปกรณ์ที่จะติดตั้งไว้ภายใน โดยเผื่อการขยายขนาดหรือจำนวนอุปกรณ์ในอนาคตด้วย นอกจากนี้ควรวางแผนการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ภายในตู้ด้วยว่าต้องการแบ่งเป็นกี่ชั้น จำเป็นต้องติดตั้งแบบ Rack-mounted หรือ Din rail หรือไม่
  • ความสะดวกในการติดตั้งและบํารุงรักษา (Ease of Installation and Maintenance)
               ตู้ Outdoor Cabinet ที่ดีคือตู้ที่สามารถติดตั้งและบํารุงรักษาได้ง่ายและสะดวก ตู้ที่สามารถเปอดหรือถอดแผง panel ออกได้ และมีระบบการจัดการสายเคเบิล จะทำให้การติดตั้งและการแก้ไขปัญหาง่ายขึ้น ช่วยลดต้นทุนการดูแลรักษาตลอดอายุการใช้งาน
  • มาตรฐานการผลิต (Compliance and Standards)
               ตู้ Outdoor Cabinet ที่ดีและมีความน่าเชื่อถือ ควรผลิตตามมาตรฐานและผ่านการรับรองโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย อาทิ
         – ระดับการป้องกันฝุ่นและน้ำ (Dust & Water Protection) ตามมาตรฐาน EN / IEC 60529 (Ingress Protection) เช่น IP 55, IP 66
         – มาตรฐานที่โรงงานผู้ผลิตได้รับการรับรอง เช่น
    มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System : QMS) ISO 9001
    มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System : EMS) ISO 14001

แน่นอนว่าราคาของตู้ Outdoor Cabinet ย่อมขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวตู้ ยิ่งมีคุณสมบัติสูงหรือครบถ้วนมากเท่าใด ราคาก็ย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นในการเลือกซื้อต้องดูว่าเราจะนำมาใช้จัดเก็บอุปกรณ์ชนิดใดบ้าง ขนาดเท่าใด้ น้ำหนักเท่าใด ต้องการระดับการป้องกันและระบบความปลอดภัยสูงขนาดไหน องค์ประกอบอื่นๆ เช่น ระบบระบายความร้อน, ระบบจัดระเบียบสาย จำเป็นต้องมีในระดับไหน เพื่อให้เราเลือกใช้ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและเหมาะสมกับงบประมาณที่มี

นอกจากคุณสมบัติของตัวตู้ Outdoor Cabinet แล้ว การให้คำแนะนำในการติดตั้ง การรับประกัน บริการหลังการขาย รวมทั้งความพร้อมด้านการจัดหาอะไหล่ ก็เป็นปัจจัยสำคัญไม่ยิ่งหย่อนในการเลือกซื้อสินค้าประเภทตู้ภายนอกอาคารจากผู้จัดจำหน่าย

 

บริษัท โฟคอมม์ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ยาวนานในด้านการออกแบบและผลิตอุปกรณ์ระบบ Network / อุปกรณ์ตู้ Outdoor Cabinet เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมที่พร้อมให้การสนับสนุนทางเทคนิคแก่ท่าน ตลอดจนมีตู้ภายนอกอาคารขนาดต่างๆ ให้ท่านเลือกมากมายหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็นตู้ Outdoor Cabinet ที่รองรับการติดตั้งได้ทั้งแบบแขวนผนังหรือยึดติดกับเสา, ตู้ภายนอกอาคารแบบ Double Door เพื่อความปลอดภัยสองชั้น หรือตู้ Wall Rack สำหรับงาน Heavy Duty โดยออกแบบเป็นตู้สองชั้น มีชั้นกันความร้อนและแสงแดด (Sun Shield) ทั้งด้านหน้าและผนังข้าง (side panel) สองด้านของตู้ เหมาะสำหรับติดตั้งภายนอกอาคารที่มีสภาพแวดล้อมรุนแรงกว่าปกติ (Harsh Environment) เช่นฝนและความร้อนสูง รองรับการติดตั้งอุปกรณ์ขนาดหน้ากว้าง 19” นิ้ว (เลือกความลึกได้ 40/50/60 cm)

 

ท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

หรือติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท โฟคอมม์ (ประเทศไทย) จำกัด

โทร : 02-973-1966

Admin : 063-239-3569

E-mail : info@focomm-cabling.com

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *