LAN (UTP) คืออะไร สาย LAN CAT แตกต่างกันอย่างไร

ในปัจจุบันสายสัญญาณในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Ethernet LAN) ค่อนข้างมีจำนวนมากขึ้น หลายประเภท และไม่ได้จำกัดการใช้งานให้อยู่แต่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เท่านั้น ทั้งนี้ยังได้ประยุกต์การใช้งาน (Application) สายสัญญาณที่กว้างขวางมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน เล่นเกม ดูหนัง หรือใช้งานระบบออนไลน์ต่างๆ ในบ้านและออฟฟิศ ต่างต้องใช้สาย LAN เพื่อเชื่อมต่อสัญญาณจากเราเตอร์ หรือ HUB ออกมาสู่อุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค หรือแม้แต่สมาร์ททีวีที่ต้องใช้อินเตอร์เน็ตก็เช่นกัน แม้ว่าจะมีระบบไร้สายอย่าง Wi-Fi ที่เป็นเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าในการส่งสัญญาณทำให้การส่งสัญญาณเสถียรเป็นอย่างมาก โดยไม่จำเป็นต้องใช้สาย LAN แต่การเชื่อมต่อผ่านระบบสาย LAN ก็ยังให้ความเสถียรมากกว่าอยู่ดี
สาย LAN นั้นอยู่กับเรามาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเริ่มต้นของการใช้งานอินเตอร์เน็ตจนถึงปัจจุบัน การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้ตอนนี้สาย LAN มีให้เลือกหลายรุ่น หลายรูปแบบ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความเร็วของการส่งสัญญาณ และความยาวสูงสุดที่ทำได้ โดยการที่เราจะเลือกใช้สายสัญญาณให้เหมาะกับการใช้งาน ให้ถูกประเภท และเหมาะสมที่สุดนั้น ต้องเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ หรือผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในสายงานนั้นๆเป็นหลัก จึงจะสามารถเลือกใช้สายสัญญาณนั้น ได้อย่างถูกต้องมากที่สุด เพื่อให้สอดคล้องกับผู้ผลิตที่ ผลิตสายออกมาให้เหมาะสมกับระบบงานหรือประเภทของอุปกรณ์นั้นๆ
วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ สายแลน LAN (UTP) คืออะไร แบ่งชนิดการใช้งานออกได้กี่แบบ เปรียบเทียบสาย LAN แบบต่างๆ รวมถึงการเลื่อกซื้อสายLAN เผื่อใครที่กำลังมีความคิดว่าจะเดินสายแลนใหม่ หรือกำลังมองหาสายแลนอยู่ จะได้สามารถเลือกซื้อให้ตรงกับสเปก และตรงตามความต้องการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด

สาย LAN คือ

สายแลน LAN (UTP) คืออะไร

สาย LAN (UTP) หรืออีกในชื่อเต็มๆ ว่า Unshielded Twisted Pair คือ สายที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายต่างๆ เป็นสายขนาดเล็กที่ไม่มีชีลด์ห่อหุ้ม มีเส้นตีเกลียวเป็นคู่ (Twisted Pairs)เพื่อลดสัญญาณรบกวนในการเชื่อมต่อ มักใช้กับคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ต เพื่อรับ-ส่งข้อมูล หรือเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายกลาง เช่น Network, Switch,Router เป็นต้น ใช้หัวต่อแบบ RJ-45 (RJ ย่อมาจาก Registered Jack) เป็นสองหัวต่อสาย 1 เส้นสามารถต่อสายได้ยาวสูงสุดประมาณ 100 เมตร
สาย UTP เป็นอุปกรณ์ที่แพร่หลายอย่างมากในการรับ-ส่งข้อมูลต่างๆ ของข้อมูลดิจิตอลไม่ว่าจะเป็นการทำงาน รับข่าวสาร รับชมสื่อต่างๆ ส่วนมากแล้วจะนิยมใช้ตามบ้านเรือน ออฟฟิศสำนักงาน การเรียนการสอนในห้องเรียน ซึ่งมีผลกับความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูลอย่างมาก

การเรียงสายแบบมาตรฐานของสาย LAN

การเรียงสายแบบมาตรฐานของสาย LAN จะมีอยู่ 2 แบบ คือ

  1. การเข้าหัว LAN สำหรับทำสายตรง (Straight-Through Cable)
         Straight-Through Cable คือ สายเคเบิลคู่บิดเกลียวชนิดหนึ่งที่ใช้ในเครือข่ายท้องถิ่นเพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับฮับเครือข่าย เช่น เราเตอร์ สายเคเบิลประเภทนี้บางครั้งเรียกว่าสายแพทช์ และเป็นทางเลือกแทนการเชื่อมต่อไร้สายที่คอมพิวเตอร์ตั้งแต่หนึ่งเครื่องขึ้นไป
    บน Straight-Through Cable จะมีพินแบบมีสายที่ตรงกัน หรือที่เรียกว่า ใช้มาตรฐานการเดินสายไฟแบบเดียวกัน
  2. การเข้าหัว LAN สำหรับการทำสายครอส (Crossover Cable)
    สาย Crossover Cable เป็นสายเคเบิลอีเธอร์เน็ตชนิดหนึ่งที่ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยตรง สาย Crossover Cable จะไม่เหมือนกับสายเคเบิลแบบ Straight-Through Cable ตรงที่มีการใช้มาตรฐานการเดินสายที่แตกต่างกัน 2 แบบ
    การเดินสายภายในของสายเคเบิลแบบ Crossover จะกลับการรับ-ส่งสัญญาณ มักใช้เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์สองเครื่องที่เป็นประเภทเดียวกัน เช่น คอมพิวเตอร์สองเครื่อง (ผ่านตัวควบคุมอินเทอร์เฟซเครือข่าย) หรือสวิตช์สองตัว

การเรียงสายของสาย LAN

การแบ่งประเภทแต่ละแบบของสายแลน LAN (UTP)

การแบ่งตามลักษณะในการติดตั้งของสาย LAN

  • ประเภทของสายแลนสำหรับติดตั้งภายในอาคาร (Indoor Cable)
    สายสัญญาณที่ออกแบบมาเพื่อติดตั้งภายในอาคาร ไม่จำเป็นต้องโดนแดด ลม ฝน หรือสภาพแวดล้อมที่หนักหน่วงมากนัก ดังนั้นลักษณะของสายแลน คือ จะความยืดหยุ่นที่ค่อนข้างสูงเพื่อให้สามารถมุดไปตามโต๊ะ ตามผนังได้ง่าย และมีการป้องกันการลามของไฟได้ดีในส่วนของเปลือกนอก โดยมักนิยมทำจากวัสดุ PVC นอกจากนี้ยังมีการใส่สายพิเศษเข้าไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันไฟ ทให้สามารถแบ่งสายออกมาเป็น 4 ประเภทย่อย ดังนี้
    1. Communication Metallic (CM) สายสัญญาณที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการลามไฟในแนวราบ และสามารถเดินสายในชั้นเดียวกัน (Horizontal Wiring) เหมาะกับการใช้งานทั่วไปอย่างการติดตั้งสายแนวราบภายในชั้นเดียวกัน
    2. Communication Metallic Riser (CMR) สายสัญญาณที่นิยมใช้ในการเดินสายระหว่างชั้นในอาคารโดยผ่านช่องเดินสายของตัวอาคาร (Vertical Shaft) และสามารถป้องกันการลามของไฟทั้งแนวดิ่งและแนวราบได้ดี
    3. Communication Metallic Plenum (CMP) สายสัญญาณที่ออกแบบมาสำหรับเดินสายบนฝ้าเพดาน หรือบริเวณช่องว่างเหนือฝ้าที่มีอากาศไหลเวียน แต่จะไม่สามารถป้องกันการลามของไฟจากแนวดิ่งได้
    4. Low Smoke Zero Halogen (LSZH) สายสัญญาณที่สามารถป้องกันการลามไฟได้ทั้งในแนวราบและแนวดิ่งเหมือน CMR แต่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือเมื่อเกิดอัคคีภัย สายชนิดนี้จะมีควันน้อยและไม่ก่อให้เกิดสารพิษ
  • ประเภทของสายแลนสำหรับติดตั้งภายนอกอาคาร (Outdoor Cable)
    สายสัญญาณที่ทำมาเพื่อติดตั้งภายนอกตัวอาคารซึ่งมีคุณสมบัติที่ทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอกอย่างมาก วัสดุที่ใช้หุ้มเปลือกนอกทำจากวัสดุ PE (Polyethylene) ที่มีความแข็งแรง ทนทานมากกว่าภายในอาคาร ไม่สึกกร่อน แต่จะไม่สามารถป้องกันการลามไฟได้จึงควรเลือกสายแลนภายนอกให้ถูกต้อง ตามชนิดของการใช้ให้เหมาะสมรูปแบบการใช้งานและสถานที่

การแบ่งตามลักษณะในการป้องกันสัญญาณรบกวน

สายแลนแบ่งการป้องกันสัญญาณรบกวน

ภายในสายแลนจะมีการบิดเกรียวของสายทองแดงภายในเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนในระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่ในบางสถานที่ที่มีสัญญาณรบกวนสูง จำเป็นต้องมีฉนวนเพิ่มเพื่อให้การส่งสัญญาณมีความเสถียรมากยิ่งขึ้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

  1. Unshield Twisted Pair (UTP) : แบบไม่มีฉนวนสำหรับป้องกันสัญญาณที่จะมารบกวน
    สายแลน LAN (UTP) ชนิดนี้ คือสายนำสัญญาณที่มี 8 เส้น (รวม 4 คู่) เป็นทองแดงแท้ และเป็นสายทองแดงคู่บิดตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ป้องกันสัญญาณรบกวน นิยมใช้กับงานระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่ใช้กันในครัวเรือนและออฟฟิศ
  2. Foil Twisted Pair (UTP) : แบบมีฉนวนสำหรับป้องกันสัญญาณที่จะมารบกวน
    สายแลน LAN (UTP) ชนิดนี้ คือสายทองแดงคู่บิดตีเกลียวแบบมีชิลด์ป้องกันสัญญาณรบกวนมักใช้งานในพื้นที่ที่มีสัญญาณรบกวน เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ติดตั้งผ่านเครื่องจักรขนาดใหญ่ มีไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งเครื่องจักรหรือสนามไฟฟ้านี้จะมีผลรบกวนสัญญาณที่ส่งผ่านสายแลน การมีซิลด์ป้องกันจะช่วยให้สัญญาณส่งได้เสถียรมากยิ่งขึ้น

การแบ่งตาม Bandwidth ที่สามารถรองรับสัญญาณได้

          สายแลนในปัจจุบันจะมีรุ่นบอกบริเวณสาย หากมีสายแลนที่บ้าน หรือที่ออฟฟิศ จะเห็นคำว่า CAT ตามด้วยตัวเลขอย่าง CAT5 CAT6 CAT6a พวกนี้พิมพ์อยู่บนสาย นอกจากจะแบ่งได้ว่ามันสามารถส่งความเร็วได้เท่าไหร่ มี Bandwidth ขนาดไหน รุ่นของสายแลนนี้ยังบอกได้ด้วยว่าความยาวสายสูงสุดนั้นทำได้ที่กี่เมตร เนื่องจากยิ่งส่งความเร็วได้มาก มี Bandwidth สูง ก็ยิ่งลดความยาวสายสูงสุดที่ทำได้ลง แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีสายแลนรุ่นใหม่ๆ ออกมา ทำให้ความเร็วที่ส่งได้สูง ก็มีความยาวสายสูงสุดเยอะตามไปด้วย โดยจะมีรุ่นไหนบ้างที่น่าใช้งานในปัจจุบัน เรามาทำความรู้จักกัน 

  • สายแลน Category 5 (CAT 5)
             
    คือสาย LAN (UTP) ที่ถูกผลิตขึ้นมาตามมาตรฐานของ Fast Ethernet (100 Mbit/sec) โดยเฉพาะ เหมาะที่จะใช้งานกับEthernet Network ที่มี speed 100 Mbit/sec (Interface แบบ Fast Ethernet) เป็นหลัก แต่หากจะนำมาใช้กับ Ethernet Network ที่มี speed 1,000 Mbit/sec หรือ 1 Gbit/sec (Interface แบบ  Gigabit Ethernet) นั้นก็พอใช้ได้ แต่ประสิทธิภาพอาจจะไม่ดีเท่าไหร่
              สายแลน CAT5 เป็นสายแลน CAT รุ่นแรกเริ่มของการใช้สายเชื่อมต่อในการส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ตัวรับสัญญาณทางปลายสาย โดยวัสดุของสาย CAT5 รุ่นนี้ จะใช้สายทองแดงวางหัวแลนเรียงกันเป็นทอดๆ มีคุณสมบัติอัตราการส่งสัญญาณด้วยความเร็วสายแลน โดยปัจจุบันสายแลน CAT5 ไม่ค่อยนิยมใช้กันในปัจจุบันเพราะเนื่องจากอัตราความเร็วการส่งข้อมูลนั้นต่ำเกินไปที่จะใช้งานในยุคนี้แล้ว
  • สายแลน Category 5E (CAT 5E)
              คือสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็วต่ำ ซึ่งพัฒนาต่อมาจากสาย CAT 5 โดยสาย CAT5E รุ่นนี้ จะใช้สายทองแดงวางหัวแลนเรียงกัน มีหลักการทำงานที่เพิ่มประสิทธิภาพการส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง วิดีโอ แบบมีความละเอียดที่สูงที่สุด ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้การอินเทอร์เน็ตหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น เปิดเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลอ้างอิงเพื่อใช้ในการเรียนการสอนพร้อมกับเปิด VDO ควบคู่ไปด้วยส่วนนี้ก็สามารถทำได้เช่นกัน และในส่วนของ Bandwidth ระยะห่างจะไม่เกิน 100 เมตร ที่ความเร็ว 100-200 MHz สูงสุด 10 Gbps
    ปัจจุบัน สาย CAT 5E มีระดับความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลอยู่ในระดับทั่วไป ทำให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสายแลน CAT 5E อยู่ในระดับ ดี-ปานกลาง และเนื่องจากมีราคาค่าใช้จ่ายต่อต้นทุนต่ำจึงเป็นสายแลน CAT ที่ถูกนิยมใช้มากที่สุดอีกหนึ่งชนิด
  • สายแลน Category 6 (CAT 6)
              คือสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็วต่ำ เป็นสายแลน CAT Gen 6 รุ่นแรก เป็นรุ่นที่ปรับเปลี่ยนการวางสายทองแดงเป็นการวางหัวแลนเรียงสลับกันเป็นฟันปลา ผลิตขึ้นมาตามมาตรฐานของ Gigabit Ethernet ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth อยู่ที่ 250 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gbps ขยายการส่งข้อมูลภายในระยะพื้นที่สูงสุด 100 ม. แต่สามารถดึงประสิทธิภาพการใช้งานความเร็วสูงสุดภายในระยะรัศมีอยู่ที่ 55 ม.เท่านั้น
  • สายแลน Category 6A (CAT 6A)
              คือสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็วสูง ถูกพัฒนามาจากรุ่นเดิมอย่าง CAT6 ที่เพิ่มระบบซอฟแวร์ อย่างโปรโตคอล(Protocol) ภายในตัวสาย โดยตัวระบบโปรโตคอลจะคอยรับข้อมูลที่ถูกส่งมาและทำการเรียบเรียงลำดับข้อมูล รวมถึงตรวจสอบความผิดพลาดระหว่างการส่งข้อมูลไปยังตัวอุปกรณ์รับปลายสายผ่าน IP Network โดยมีสาย Html รองรับการใช้งาน และรองรับBandwidth ได้ถึง 500 MHz สูงสุดถึง 10 Gbps ในระยะห่างไม่เกิน 100 เมตร นอกจากนี้ตัวสายแลน CAT 6A ยังมีฉนวนประกอบที่ช่วยลดสัญญาณรบกวนระหว่างการส่งข้อมูล ทำให้การส่งข้อมูลมีความเสถียรมากที่สุด
  • สายแลน LAN CAT 6E
              เป็นสายแลน CAT ที่ถูกพัฒนามาจากสาย CAT 6A เพื่อเพิ่มรัศมีอาณาเขตการใช้ในวงกว้างที่มากขึ้น มีความเร็วในการส่งข้อมูลแบบเป็นระเบียบ และแบบกระจาย แยกอุปกรณ์รับข้อมูลปลายทางเป็นเครือข่าย Data Center ที่คอยกรองข้อมูล และจัดระเบียบการส่งสัญญาณหลายๆช่องทางในเวลาเดียวกัน สายแลน CAT 6E มีความเร็วและความถี่สูงสุดถึง 10 Gpbs./BW 550 Mhz เป็นสายที่นิยมใช้ในการวางระบบภายในพื้นที่อาคาร สำนักงาน และองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีการประมวลผลการส่งข้อมูลหลายๆช่องทาง
  • สายแลน Category 7 (CAT 7) คืออะไร
              คือสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็วต่ำ ที่ถูกผลิตเป็นสาย Ethernet ในการเชื่อมมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบเป็นเครือข่ายวงกว้าง ซึ่งเป็นสายแลน CAT รุ่นพิเศษที่ใช้สายเคเบิลร่วมกับสายแลน CAT 6 CAT 5 และ CAT 5E ได้พอดี ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth ที่ 600 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gbps ในระยะห่างไม่เกิน 100 เมตร
  • สายแลน Category 8 (CAT 8) คืออะไร
              คือสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็ว และเป็นสายแลน CAT รุ่นที่ถูกผลิตล่าสุด โดยเป็นสายแลนที่ตอบโจทย์ต่อการใช้งานแบบองค์กรที่มีศูนย์รวม Data Center ขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นสายแลนที่ใช้หัวเสียบเชื่อมกับสายแลน CAT รุ่นอื่นๆได้อย่างไม่มีปัญหา ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth อยู่ที่ 2GHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 25/40 Gbps ในระยะห่างไม่เกิน 30 เมตร

เปรียบเทียบความแตกต่างคุณสมบัติของสายแลน

ความแตกต่างคุณสมบัติของสายแลน

  • สายแลน LAN CAT5 vs CAT6
         คุณสมบัติ – สายแลนCAT5 และ CAT6 มีความความเร็วและความถี่สูงสุดต่างกันอยู่ที่ 10000 Gpbs./BW150 Mhz.
    ซอฟแวร์ – สายแลน CAT5 เป็นสายแลน CAT เคเบิลรุ่นบุกเบิกใน ขณะที่สายแลน CAT6 เริ่มปรับเปลี่ยนตัวสายให้สามารถเข้าถึงสัญญาณได้มากขึ้น
    ราคา – สายแลน CAT6 ราคาค่าเฉลี่ยในการใช้จ่ายต่อความยาวสายสูงกว่าสายแลน CAT5
  • สายแลน LAN CAT 5E vs CAT6
         คุณสมบัติ – สายแลน CAT 5E และ CAT6 มีความความเร็วและความถี่สูงสุดต่างกันอยู่ที่ BW150 Mhz.
    ซอฟแวร์ – สายแลน CAT 5E เป็นสายแลน CAT รุ่นอัพเกรดจากรุ่น CAT5 ให้มีประสิทธิภาพการส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น ขณะที่สายแลน CAT6 เริ่มปรับเปลี่ยนตัวสายให้สามารถเข้าถึงสัญญาณได้มากขึ้น
    ราคา – สายแลน CAT6 ราคาค่าเฉลี่ยในการใช้จ่ายต่อความยาวสายสูงกว่าสายแลน CAT 5E
  • สายแลน LAN CAT6 vs CAT7
         คุณสมบัติ – สายแลน CAT6 และ CAT7 มีความถี่ต่อการส่งข้อมูลแตกต่างกันอยู่หน่วยที่ 100 Mhz.
    ซอฟแวร์ – สายแลน CAT7 เป็นสายแลน CAT รุ่นแรกที่มีการติดตั้งระบบสาย Ethernet เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบรัศมีวงกว้าง
    ราคา – สายแลน CAT7 ราคาค่าเฉลี่ยในการใช้จ่ายต่อความยาวสายสูงกว่าสายแลน CAT6
  • สายแลน LAN CAT7 vs CAT8
         คุณสมบัติ – สายแลน CAT7 และ CAT8 มีความถี่ต่อการส่งข้อมูลแตกต่างกันอยู่หน่วยที่ 1400 Mhz. และสาย CAT8 เป็นสายชนิดเดียวที่ มีความเร็วอยู่ที่ 40 Gpbs
    ซอฟแวร์ – สายแลน CAT8 เป็นสายแลน CAT ที่ผลิตรุ่นล่าสุด เป็นสายแลนที่ใช้หัวเสียบเชื่อมกับสายแลน CAT รุ่นอื่นๆได้
    ราคา – สายแลน CAT8 ราคาค่าเฉลี่ยในการใช้จ่ายต่อความยาวสายสูงกว่าสายแลน CAT7

เปรียบเทียบสายแลน กับการใช้งาน

ประโยชน์ของสายแลน LAN (UTP) มีอะไรบ้าง

          ประโยชน์ของสายแลนคือ หลักๆแล้วจะเป็นการทำให้อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องใช้การเชื่อมต่อเข้าหากันมีการเชื่อมต่อที่ต่อเนื่อง

  1. แชร์ฮาร์ดแวร์กับอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์ต่างๆ ได้
  • อุปกรณ์สำหรับใช้งานในด้านการสื่อสารอย่าง Modem Router Gateway ที่จะต้องใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์
  • อุปกรณ์สำหรับการเก็บหน่วยความจำต่างๆ ที่ใช้ร่วมกับสายแลนคือ Hard Disk, SSD
  • การใช้ทำงานกับอุปกรณ์เครื่องพิมพ์ เช่น Printer แบบปกติหรือเลเซอร์ก็ได้สามารถใช้งานร่วมได้เช่นกัน
  • การใช้เครื่องฉาย VDO โปรเจคเตอร์ที่ต้องใช้ในห้องประชุมในการนำเสนองาน นำมาเชื่อมการต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อส่งภาพไปที่เครื่องโปรเจคเตอร์
  1. แชร์ซอฟต์แวร์กับอุปกรณ์หลายๆ เครื่องในเวลาเดียวกันได้
              สำหรับซอฟต์แวร์บางชนิดสามารถติดตั้งกับคอมพิวเตอร์จากเครื่องหนึ่งไปที่อีกเครื่องหนึ่งได้ และจะสามารถดึงโปรแกรมจากตัวคอมพิวเตอร์อีกเครื่องได้ นอกจากนี้ยังสามารถสั่งพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์ที่ติดตั้งไว้ในระบบได้ทันที
  2. สามารถแชร์ข้อมูลต่างๆ ได้
              ในการทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะในสายงานไหนที่ต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์จะต้องมีการแชร์ข้อมูลกันระหว่างอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่งซึ่งสายแลนก็จะเข้ามามีบทบาทสำหรับการแชร์ข้อมูลต่างๆเหล่านี้ภายในที่ทำงานได้ทันทีอีกด้วย
  3. ใช้ดึงข้อมูลต่างๆ ได้
              ในการประชุมต่างๆ นั้นอาจจะต้องมีการใช้ไฟล์ที่ไม่ได้เป็นความลับมาก เมื่อติดตั้งสายแลนเข้าระบบแล้วจะสามารถดึงข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในออฟฟิศได้ทันทีทำให้ประหยัดเวลาและเป็นการประหยัดเนื้อที่หน่วยความจำอีกด้วย

วิธีการเลือกซื้อ สาย Lan ให้เหมาะกับการใช้งาน 

  1. เลือก “CAT” ของสายแลน
              จากหัวข้อด้านบนที่เราอธิบายไปเกี่ยวกับ “CAT” ของสายแลน คุณจะเห็นว่า ในสายแต่ละแบบนั้น รองรับความเร็วสูงสุดได้ต่างกัน ซึ่งถ้าหากคุณมีงบประมาณเหลือ ๆ คุณก็สามารถเลือกซื้อสาย CAT8 ไปใช้งานได้ คุณก็จะได้ใช้ความเร็วสูงสุดที่ระบบเครือข่ายของคุณทำได้ แต่หากคุณอยากประหยัดก็สามารถเลือกความเร็วตามที่ระบบเครือข่ายคุณทำได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีความเร็วอยู่ที่ 1,000Mbps หรือ 1Gbps
              ข้อดีอีกอย่างของ CAT สูง ๆ คือสามารถรองรับการใช้งานได้อย่างต่ำอีก 10 ปี เราสามารถสังเกตได้จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ที่ต่างก็ลดราคาแพ็คเกจอินเทอร์เน็ต และอัพเกรดความเร็วให้ นั่นทำให้เราคาดเดาได้ว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าอินเทอร์เน็ตกำลังมีการเปลี่ยนแปลงกำลังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเลือกซื้อ สายแลน CAT สูงๆ เผื่อไว้ก็ไม่เสียหาย
  1. ความยาวของสาย
              การใช้งานสายแลนนั้นคุณต้องทราบก่อนว่า ระยะทาง หรือ ความยาวสายแลน มันมีผลต่อความเร็ว ยิ่งมีระยะทางไกลมากเท่าไร ความเร็วของสัญญาณก็จะยิ่งตกลงเรื่อยๆ ทำให้ CAT แต่ละแบบจึงมีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ความเร็วสูงสุดที่รองรับจะต้องอยู่ในระยะที่กำหนดไว้เท่านั้น ถ้าหากเกินจากนี้ความเร็วสูงสุดก็จะลดลง ฉะนั้นคุณควรคำนวนระยะทางที่คุณใช้ในการเดินสายก่อนที่จะเลือกซื้อสาย การซื้อสายแลนแบบเผื่อความยาวสายเอาไว้ไม่มีประโยชน์อะไร แถมอาจทำให้ความเร็วสัญญาณของคุณช้าลงอีกด้วย ดังนั้นเราควรที่จะเลือกซื้อความยาวสายเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานถึงจะดีที่สุด
  1. การป้องกันสัญญาณรบกวนของสายแลน
              คุณต้องดูพื้นที่การติดตั้งก่อน หากคุณต้องการสายแลนสำหรับใช้เดินสายภายใน อาทิเช่น ในห้อง, ในบ้าน หรือในอาคาร การป้องกันสัญญาณรบกวนก็ถืเป็นสิ่งไม่จำเป็น เนื่องจากในอาคารไม่ค่อยมีสัญญาณรบกวน หรืออาจมีแต่น้อย แต่ถ้าหากบ้านของคุณอยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวน อย่างเช่น เครื่องจักรของโรงงานฯ, หม้อแปลงไฟฟ้า, เสาไฟฟ้า, เสาสัญญาณ, หรือเครื่องมือที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูง ๆ อย่างเครื่องเชื่อม คุณก็ควรจะเลือกใช้สายที่มีการป้องกัน แต่ถ้าคุณจะซื้อสายแลนที่มี CAT สูงๆ ก็สามารถมองข้ามข้อนี้ไปได้เนื่องจากสายส่วนใหญ่จะมีการป้องกันมาให้อยู่แล้ว

          วันนี้คงได้ทราบกันแล้วว่าสายแลน LAN (UTP) คืออะไร แบ่งชนิดการใช้งานออกได้กี่แบบ แล้วแต่ละรุ่น สามารถส่งความเร็ว Bandwidth และมีความยาวสายสูงสุดที่เท่าไหร่ จะได้เลือกใช้ได้เหมาะสมต่อสถานที่ที่นำไปติดตั้ง เพราะหากติดตั้งสายผิด อาจทำให้เกิดอัตรายได้อย่างวัสดุที่ไม่ป้องกันการลามไฟ หรือหากติดตั้งไม่ถูกรุ่น ไม่ถูก CAT ความเร็วสูงสุดที่ทำได้อาจไม่สอดคล้องกับความเร็วอินเตอร์เน็ตที่เราติดตั้งได้

หากใครกำลังมองหาสาย LAN หรืออุปกรณ์สำหรับอินเตอร์เน็ตอยู่ สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมและรับคำปรึกษาฟรี ได้ที่

บริษัท โฟคอมม์ (ประเทศไทย) จำกัด

โทร : 02-973-1966

Admin : 063-239-3569

E-mail : info@focomm-cabling.com

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *